การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

เผยแพร่งานวิจัย
ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ผู้วิจัย นางกีรติกานต์ ศรีขัดเค้า
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านหนองหินโคน
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต3
ที่อยู่ โรงเรียนบ้านหนองหินโคน หมู่5 ต.สระว่านพระยา อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา 30250
ประเทศ ไทย

บทคัดย่อ
จุดประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา และศึกษาการพัฒนาสติปัญญา ด้านการการพัฒนาการเรียนรู้จากธรรมชาติ โดยใช้การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยชุดนวัตกรรมการสร้างองค์ความรู้ผ่านแผนการจัดประสบการณ์จำนวน 12 แผน และแบบบันทึกประจำวัน การวิจัยมี 4 ขั้นตอน ตามแนวคิดของ Kemmis and Mac Taggart ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการสอน การสังเกต และการสะท้อนผล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการพรรณนา วิเคราะห์ และสรุป แหล่งเรียนรู้ ที่สำคัญได้แก่ แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน บรรลุเป้าหมายร้อยละ 80 ตามเกณฑ์ที่ ตั้งไว้ ซึ่งมีพัฒนาการสูงกว่าก่อนดำเนินการทุกด้าน และนักเรียนยังมีผลการพัฒนาสติปัญญา ด้านการคิดสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 ครูและนักเรียนได้ร่วมกันนำเสนอผลงานการจัดการความรู้(Knowledge management) โดยจัดทำเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ ปีกาศึกษา 2563